บทความที่ 1
5 ปัญหายอดฮิต เรื่องพูดของลูก
ฝึกทักษะในการสื่อสารให้ลูกเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะเด็ก ๆ ที่มีปัญหาในการใช้ภาษาบางคนพบว่าอาจมีปัญหาเรื่องความบกพร่องของสมอง หรืออวัยวะในการฟังและการพูด ต้องเข้ารับการรักษา ปัจจุบันพบว่ามีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่พัฒนาการด้านอื่นปกติดี แต่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการทางภาษา เพราะได้รับการเลี้ยงดูและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
1. ลูกไม่ยอมพูด / พูดช้า
โดยทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มพูดคำที่มีความหมายเป็นคำ ๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ แต่พบเด็กหลายคนที่มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาล่าช้า แต่สามารถทำตามคำสั่งได้ เข้าใจภาษาที่แม่สื่อสาร และมีทักษะการแก้ไขปัญหาตามวัยได้ดี ในเด็กกลุ่มนี้ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะเป็นกลุ่มที่สามารถพูดได้ทันเด็กวัยเดียวกันได้
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
เปิดโอกาสให้เขาได้สื่อสาร บอกความต้องการของตนเองบ้าง
เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษา เพราะลูกจะซึมซับจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการพูดกับลูก หรือพูดกันเองให้ลูกได้ยิน ลูกก็จะจดจำไว้
เลือกว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาหลักในการพูด ก็ให้สื่อกับลูกด้วยภาษานั้น เพื่อให้ลูกสามารถพูดภาษานั้นได้ ส่วนภาษารอง ในขั้นต้นพ่อแม่อาจใช้สื่อสารกันเองก่อน ลูกจะได้ฟังและซึมซับภาษาที่พ่อแม่พูดไปในตัว
2. ตะ ตะ ติด อ่าง....
พบได้บ่อยในเด็กวัยเตาะแตะ ที่กำลังเริ่มหัดพูด คำมากกว่า 2 คำขึ้นไป คือ ความคิดเริ่มแล่น อยากสื่อสาร แต่คิดคำพูดไม่ทันใจ คลังในสมองยังน้อย เลยทำให้พูดซ้ำคำเดิม เช่น หนู หนู หนู...กินนมแล้ว มีทั้งติดอ่างเล็กน้อย ซึ่งจะหายเป็นปกติได้เองในเวลาไม่นานนัก และติดอ่างมาก จนมีปัญหาในการสื่อสาร คือเริ่มจากติดอ่างน้อย จนเมื่อลูกรู้ตัวว่าตัวเองมีความผิดปกติก็ยิ่งเกิดความกังวล ระมัดระวังตัวเองในการพูดมากขึ้น เกิดความเกร็ง ทำให้ไม่มั่นใจในการพูด กลายเป็นติดอ่างมากขึ้นจนมีปัญหาในการสื่อสาร
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
อย่าใช้คำถามกับลูกมากเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงคำพูดที่เหมือนคำถาม เพราะลูกต้องคิดหาคำตอบ ทำให้ลูกติดอ่างมากขึ้น
ทำบรรยากาศในบ้านให้สบาย ให้ลูกรู้สึกไม่กังวลกับการพูด ให้กำลังใจลูกว่าอย่ากลัวถ้าจะต้องพูดผิด
ให้ความสนใจรับฟังว่าลูกพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับการพูดติดอ่างของลูกมากจนเกินไป
เมื่อเด็กรู้สึกผ่อนคลาย ได้รับความรักความเข้าใจจากทุกคนในครอบครัว อาการติดอ่างจะค่อย ๆ หายไปได้เอง โดยใช้เวลาช้าเร็วต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
3. ช่างจ้อ แต่...เป็นภาษาต่างดาว
พัฒนาการลูกสมกับวัยช่างจ้อ พูดเป็นเรื่องเป็นราว แต่พูดรู้เรื่องเป็นบางคำ ที่เหลือภาษาต่างดาวที่ใคร ๆ ก็เดาไม่ออกว่าเขาพูดถึงอะไร ถามคำถามที่แม่ตอบไม่ได้ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
ฝึกการฟัง ฝึกสื่อสารให้ตรงกันก่อน โดยเริ่มจากของใกล้ตัว นก ประตู หนังสือ จาน แก้ว อาจใช้สิ่งของหรือรูปภาพมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการพูด
คุณพ่อคุณแม่อาจพูดให้ช้าลง และออกเสียงให้ชัดขึ้น ขยับปากให้ลูกเห็นชัดๆ เพื่อลูกจะได้จดจำการใช้ภาษาของคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างง่ายมากขึ้น
พยายามสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการเรียกชื่อเฉพาะของสิ่งนั้นไปเลย เช่น สมุด หนังสือ ตุ๊กตา จานข้าว ไม่เรียก อันโน้น อันนั้น ลูกจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น
ช่วงที่ลูกหัดพูด มีภาษาต่างดาว หรือภาษาของเขาเอง ก็พยายามคาดคะเนดูว่าลูกหมายความว่าอย่างไร แล้วพูดให้ลูกพูดคำที่ถูกต้องตาม แต่เป็นไปอย่างสบายๆ ไม่เครียด ลูกจะได้เรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการสื่อความที่ถูกต้องได้
4. พูดได้...แต่ไม่ชัด
มีทั้งแบบพูดไม่ชัดเป็นคำๆ พูดไม่ชัดเป็นตัวอักษร และพูดไม่ชัดทุกคำ ซึ่งไม่ได้มีความผิดปกติทางร่างกาย การได้ยินปกติดี และไม่มีปัญหาเรื่องสมอง แต่พูดไม่ชัด เช่น สะกดหรือออกเสียงบางคำไม่ได้
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
เลิกขวดนมตามวัย
พ่อแม่และบุคคลรอบตัวพยายามเป็นตัวอย่างที่ดี ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ถ้าไม่ชัดเพราะคนใกล้ตัวพูดไม่ชัด ก็พยายามแก้ไขให้คนแวดล้อมพูดกับเด็กอย่างชัดถ้อยชัดคำ ฝึกไปพร้อม ๆ กันด้วยก็ได้ ลูกจะได้มีเพื่อน รู้สึกสนุกกับการฝึกมากขึ้น
หาเกมส์เล่น ฝึกการเคลื่อนไหวของปากและลิ้น เช่น เป่าลูกโป่ง เป่าเทียน เป่านกหวีด เป่าฟองสบู่แสนสนุก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูด
อย่าเข้มงวดปรับพฤติกรรมตรงนี้มากนัก จะทำให้ลูกเกิดความเครียด จากที่พูดไม่ชัด จะกลายเป็นไม่อยากพูดไปเลย ควรสร้างบรรยากาศสบาย ๆ
5. พูดม๊าก...มาก เกินไปแล้วนะลูก
อาการช่างจ้อของลูกคงไม่เป็นปัญหาที่คุณแม่จะต้องกลุ้มใจ ถือเป็นข้อดีที่ลูกอยากพูดคุย อยากรู้อยากเห็น ซึ่งหากพ่อแม่ให้ความสนใจ ตอบสิ่งที่เขาอยากรู้ และสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากรู้มากขึ้นได้ สมองลูกก็จะมีการพัฒนาอย่างสมวัยเต็มที่
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
พยายามตอบคำถาม หรือตั้งคำถามกลับ ชวนลูกคิดต่อยอด
สอนมารยาท บอกลูกว่าเราจะไม่พูดแทรกในขณะที่คนอื่นกำลังพูดคุยกันอยู่ ยกเว้นเรื่องสำคัญที่ต้องบอกเดี๋ยวนั้น เช่น ปวดฉี่ ปวดอึ
ให้ความสนใจเวลาลูกอยากเล่าเรื่องหรือพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ แต่ถ้าไม่สะดวกจริง ๆ ก็อาจให้เขารอสักครู่ สัญญาว่าจะกลับมาฟังลูกเล่า เวลาในการรอก็ตามความสามารถในความอดทนของแต่ละวัย เริ่มต้นอาจให้รอสัก 2 นาที แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 3 – 5 นาที และต้องทำตามสัญญาทุกครั้ง
อาการแบบนี้ควรระวัง
อายุ 1 ขวบ ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้ สื่อสารกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ ไม่สามารถเข้าใจหรือทำตามคำสั่งได้ ไม่เข้าใจว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร ไม่มีความสนใจในการสื่อสาร เรียกชื่อไม่หัน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหาความผิดปกติว่ามีการบกพร่องในการได้ยิน อยู่ในกลุ่มอาการออทิสติก สติปัญญาช้า หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
1. ลูกไม่ยอมพูด / พูดช้า
โดยทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มพูดคำที่มีความหมายเป็นคำ ๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ แต่พบเด็กหลายคนที่มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาล่าช้า แต่สามารถทำตามคำสั่งได้ เข้าใจภาษาที่แม่สื่อสาร และมีทักษะการแก้ไขปัญหาตามวัยได้ดี ในเด็กกลุ่มนี้ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะเป็นกลุ่มที่สามารถพูดได้ทันเด็กวัยเดียวกันได้
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
เปิดโอกาสให้เขาได้สื่อสาร บอกความต้องการของตนเองบ้าง
เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษา เพราะลูกจะซึมซับจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการพูดกับลูก หรือพูดกันเองให้ลูกได้ยิน ลูกก็จะจดจำไว้
เลือกว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาหลักในการพูด ก็ให้สื่อกับลูกด้วยภาษานั้น เพื่อให้ลูกสามารถพูดภาษานั้นได้ ส่วนภาษารอง ในขั้นต้นพ่อแม่อาจใช้สื่อสารกันเองก่อน ลูกจะได้ฟังและซึมซับภาษาที่พ่อแม่พูดไปในตัว
2. ตะ ตะ ติด อ่าง....
พบได้บ่อยในเด็กวัยเตาะแตะ ที่กำลังเริ่มหัดพูด คำมากกว่า 2 คำขึ้นไป คือ ความคิดเริ่มแล่น อยากสื่อสาร แต่คิดคำพูดไม่ทันใจ คลังในสมองยังน้อย เลยทำให้พูดซ้ำคำเดิม เช่น หนู หนู หนู...กินนมแล้ว มีทั้งติดอ่างเล็กน้อย ซึ่งจะหายเป็นปกติได้เองในเวลาไม่นานนัก และติดอ่างมาก จนมีปัญหาในการสื่อสาร คือเริ่มจากติดอ่างน้อย จนเมื่อลูกรู้ตัวว่าตัวเองมีความผิดปกติก็ยิ่งเกิดความกังวล ระมัดระวังตัวเองในการพูดมากขึ้น เกิดความเกร็ง ทำให้ไม่มั่นใจในการพูด กลายเป็นติดอ่างมากขึ้นจนมีปัญหาในการสื่อสาร
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
อย่าใช้คำถามกับลูกมากเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงคำพูดที่เหมือนคำถาม เพราะลูกต้องคิดหาคำตอบ ทำให้ลูกติดอ่างมากขึ้น
ทำบรรยากาศในบ้านให้สบาย ให้ลูกรู้สึกไม่กังวลกับการพูด ให้กำลังใจลูกว่าอย่ากลัวถ้าจะต้องพูดผิด
ให้ความสนใจรับฟังว่าลูกพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับการพูดติดอ่างของลูกมากจนเกินไป
เมื่อเด็กรู้สึกผ่อนคลาย ได้รับความรักความเข้าใจจากทุกคนในครอบครัว อาการติดอ่างจะค่อย ๆ หายไปได้เอง โดยใช้เวลาช้าเร็วต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
3. ช่างจ้อ แต่...เป็นภาษาต่างดาว
พัฒนาการลูกสมกับวัยช่างจ้อ พูดเป็นเรื่องเป็นราว แต่พูดรู้เรื่องเป็นบางคำ ที่เหลือภาษาต่างดาวที่ใคร ๆ ก็เดาไม่ออกว่าเขาพูดถึงอะไร ถามคำถามที่แม่ตอบไม่ได้ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
ฝึกการฟัง ฝึกสื่อสารให้ตรงกันก่อน โดยเริ่มจากของใกล้ตัว นก ประตู หนังสือ จาน แก้ว อาจใช้สิ่งของหรือรูปภาพมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการพูด
คุณพ่อคุณแม่อาจพูดให้ช้าลง และออกเสียงให้ชัดขึ้น ขยับปากให้ลูกเห็นชัดๆ เพื่อลูกจะได้จดจำการใช้ภาษาของคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างง่ายมากขึ้น
พยายามสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการเรียกชื่อเฉพาะของสิ่งนั้นไปเลย เช่น สมุด หนังสือ ตุ๊กตา จานข้าว ไม่เรียก อันโน้น อันนั้น ลูกจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น
ช่วงที่ลูกหัดพูด มีภาษาต่างดาว หรือภาษาของเขาเอง ก็พยายามคาดคะเนดูว่าลูกหมายความว่าอย่างไร แล้วพูดให้ลูกพูดคำที่ถูกต้องตาม แต่เป็นไปอย่างสบายๆ ไม่เครียด ลูกจะได้เรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการสื่อความที่ถูกต้องได้
4. พูดได้...แต่ไม่ชัด
มีทั้งแบบพูดไม่ชัดเป็นคำๆ พูดไม่ชัดเป็นตัวอักษร และพูดไม่ชัดทุกคำ ซึ่งไม่ได้มีความผิดปกติทางร่างกาย การได้ยินปกติดี และไม่มีปัญหาเรื่องสมอง แต่พูดไม่ชัด เช่น สะกดหรือออกเสียงบางคำไม่ได้
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
เลิกขวดนมตามวัย
พ่อแม่และบุคคลรอบตัวพยายามเป็นตัวอย่างที่ดี ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ถ้าไม่ชัดเพราะคนใกล้ตัวพูดไม่ชัด ก็พยายามแก้ไขให้คนแวดล้อมพูดกับเด็กอย่างชัดถ้อยชัดคำ ฝึกไปพร้อม ๆ กันด้วยก็ได้ ลูกจะได้มีเพื่อน รู้สึกสนุกกับการฝึกมากขึ้น
หาเกมส์เล่น ฝึกการเคลื่อนไหวของปากและลิ้น เช่น เป่าลูกโป่ง เป่าเทียน เป่านกหวีด เป่าฟองสบู่แสนสนุก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูด
อย่าเข้มงวดปรับพฤติกรรมตรงนี้มากนัก จะทำให้ลูกเกิดความเครียด จากที่พูดไม่ชัด จะกลายเป็นไม่อยากพูดไปเลย ควรสร้างบรรยากาศสบาย ๆ
5. พูดม๊าก...มาก เกินไปแล้วนะลูก
อาการช่างจ้อของลูกคงไม่เป็นปัญหาที่คุณแม่จะต้องกลุ้มใจ ถือเป็นข้อดีที่ลูกอยากพูดคุย อยากรู้อยากเห็น ซึ่งหากพ่อแม่ให้ความสนใจ ตอบสิ่งที่เขาอยากรู้ และสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากรู้มากขึ้นได้ สมองลูกก็จะมีการพัฒนาอย่างสมวัยเต็มที่
คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้
พยายามตอบคำถาม หรือตั้งคำถามกลับ ชวนลูกคิดต่อยอด
สอนมารยาท บอกลูกว่าเราจะไม่พูดแทรกในขณะที่คนอื่นกำลังพูดคุยกันอยู่ ยกเว้นเรื่องสำคัญที่ต้องบอกเดี๋ยวนั้น เช่น ปวดฉี่ ปวดอึ
ให้ความสนใจเวลาลูกอยากเล่าเรื่องหรือพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ แต่ถ้าไม่สะดวกจริง ๆ ก็อาจให้เขารอสักครู่ สัญญาว่าจะกลับมาฟังลูกเล่า เวลาในการรอก็ตามความสามารถในความอดทนของแต่ละวัย เริ่มต้นอาจให้รอสัก 2 นาที แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 3 – 5 นาที และต้องทำตามสัญญาทุกครั้ง
อาการแบบนี้ควรระวัง
อายุ 1 ขวบ ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้ สื่อสารกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ ไม่สามารถเข้าใจหรือทำตามคำสั่งได้ ไม่เข้าใจว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร ไม่มีความสนใจในการสื่อสาร เรียกชื่อไม่หัน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหาความผิดปกติว่ามีการบกพร่องในการได้ยิน อยู่ในกลุ่มอาการออทิสติก สติปัญญาช้า หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
บทความที่ 2
พัฒนาการด้านการได้ยินของลูกน้อย
จุดเริ่มต้นของเจ้าตัวเล็ก
ต้องยกให้เป็นพัฒนาการพื้นฐานของลูกน้อยเลยค่ะ สำหรับ "พัฒนาการด้านการได้ยิน" เพราะการได้ยินเป็นพื้นฐานสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ทักษะด้านภาษาและไอคิว เด็กจะพูดได้ตามปกติจำเป็นต้องมีการได้ยินที่ปกติ ในกรณีของเด็กที่พูดช้าส่วนหนึ่งก็มีผลมาจากพัฒนาการได้ยินที่ล่าช้า ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งค่ะที่คุณแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ให้ลูกน้อยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก ถ้าพัฒนาการด้านการได้ยินไม่ได้รับการกระตุ้นส่งเสริมที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลต่อการออกเสียง การพูดและทักษะภาษาของลูกได้ต่อไปในอนาคต ว่าแล้วเราก็มาดูพัฒนาการด้านการได้ยินของลูกน้อยแต่ละช่วงวัยกันเลยค่ะ
0-3 เดือน
ใช้การร้องสื่ออารมณ์ หิวก็ส่งเสียงร้องไห้ ส่งเสียงอ้อแอ้เมื่อมีความสุข
หยุดร้องไห้และเคลื่อนไหว นิ่งฟัง เมื่อคุณแม่เรียกชื่อ เปิดเพลง หรือเขย่าของเล่นมีเสียง
ในขณะที่ลูกน้อยร้องงอแง หรือร้องกวน ถ้าคุณแม่ส่งเสียง เด็กก็จะหยุดนิ่งหรือกะพริบตามอง
เมื่อนอนหลับจะร้องไห้จ้า หากได้ยินเสียงดังจนทำให้ตกใจ และผวาตื่น
เริ่มสนใจมองเวลาที่มีคนมาพูดคุยกันใกล้ ๆ
3-6 เดือน
เริ่มฟัง สนใจเสียงตัวเอง และเสียงผู้อื่นมากขึ้น
สามารถหันหาเสียงที่มาทางแนวราบได้ รู้ที่มาของเสียงว่ามาจากไหน แยกแยะเสียงสูงต่ำได้
ถ้าเป็นเสียงคุณแม่คุยด้วย เจ้าตัวเล็กจะหันหาและยิ้มด้วย แต่หากเป็นเสียงคนที่ไม่คุ้นเคย ลูกจะมีสีหน้าตกใจ หรือร้องไห้
เริ่มสนใจของเล่นที่มีเสียง
6-10 เดือน
เปล่งเสียงอ้อแอ้ "บา กา ปู มะ" และเปล่งเสียงใหม่ ๆ ที่ง่าย ๆ ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
สามารถก้ม เงย หรือหันหาเสียงที่ได้ยินได้
เข้าใจความหมายของคำพูดพื้นฐาน เช่น ไม่ อย่า ได้
ตอบสนองเสียงตัวเอง โดยแสดงอารมณ์สีหน้าตามเสียงที่เปล่งออกมา เช่น มีสีหน้ายิ้มแย้มเมื่อเปล่งเสียง หัวเราะเอิ๊กอ๊ากชอบใจ
ตอบสนองต่อเสียงกริ่งโทรศัพท์ เสียงช้อนกระทบ เสียงเพลง
ชอบเล่นของเล่นที่มีเสียงกรุ๋งกริ๋ง หรือของเล่นที่มีเสียงดัง
เมื่อคุณแม่เล่นเสียงกับลูกน้อย เด็กจะทำเสียงเลียนแบบ และแสดงสีหน้าตอบสนองต่อเสียงได้
10-12 เดือน
รู้จักชื่อของตัวเองและหันเวลามีคนเรียกชื่อ
รู้ชื่อสิ่งของที่คุ้นเคย สามารถชี้ไปยังสิ่งของที่รู้สึกต้องการ
ออกเสียงตามคำพูดที่มีความหมายง่าย ๆ อย่างน้อย 7 คำ เช่น พ่อ แม่ เอา นม น้ำ
สามารถหันหาเสียงที่มาจากทิศทางรอบด้านทั้งซ้าย ขวา บน ล่าง
ทำตามคำสั่งง่าย ๆ โดยมีท่าทางประกอบคำสั่ง เช่น คุณแม่บอกให้ลูกตบมือแปะ ๆ โดยทำท่าตบมือให้ลูกดู
Check List ลูกน้อยได้ยินปกติไหมนะ ??
ช่วงวัย 6-12 เดือน คุณแม่จะสามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่าลูกน้อยมีความผิดปกติในการได้ยินหรือไม่ เพราะถ้าลูกมีการเล่นเสียงน้อยลงอาจเป็นไปได้ว่าลูกมีความผิดปกติ ในการได้ยิน ลองจับสังเกตอาการเหล่านี้ดูค่ะ
เมื่ออายุ 6 เดือนแล้วแต่ลูกน้อยยังไม่ยอมหันหาเสียงใด ๆ
อายุ 7 เดือนขึ้นไป ไม่มีอาการตอบสนองต่อเสียงคุณแม่ ไม่มีการตอบสนองเวลาที่พ่อแม่พูดคุยด้วย
ย่างเข้าสู่ 1 ปี แต่ลูกยังไม่ยอมพูด หรือพูดไม่ได้ แม้แต่คำง่าย ๆ เพียงพยางค์เดียว
หากลูกมีอาการเหล่านี้แนะนำให้คุณแม่ปรึกษาคุณหมอดูนะคะว่า เจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการด้านการได้ยินที่ผิดปกติหรือไม่ อย่าลืมนะคะว่า พัฒนาการได้ยินเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งของลูกรัก
Modern Mom’s Tip
เคล็ดลับกระตุ้นการได้ยิน
หมั่นพูดหมั่นคุยกับลูก ส่งเสริมพัฒนาการได้ยินของลูกโดยพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เวลาที่ลูกน้อยส่งเสียงอ้อแอ้ ๆ มา คุณแม่ควรจะมีการโต้ตอบกลับด้วยน้ำเสียงที่อ่อนหวาน ห่วงใย ชัดถ้อยชัดคำ (อย่าใช้เสียงดุดันนะคะ) เช่น ว่าไงคะลูก เอ๋แม่อยู่นี่ค่ะ เพราะเสียงที่เด็กทารกพึงพอใจจะเป็นเสียงสูงของคุณแม่มากกว่าเสียงธรรมดาของคุณพ่อ เมื่อพูดกับลูก ลูกก็จะมองตามและหาที่มาของเสียง และการคุยกับลูกบ่อย ๆ ยังส่งเสริมให้เด็กจำคำต่าง ๆ ที่เขาได้ยินอีกด้วย
เสียงธรรมชาติหรรษา คุณแม่อาจจะนำเรื่องใกล้ตัวมาช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ยินของลูกรักได้ เช่น พาลูกฟังเสียงต่าง ๆ ในธรรมชาติ ฟังเสียงนกร้อง เสียงน้ำไหล เสียงลมโชย เสียงสุนัข เสียงแมว ฯลฯ หรือคุณอาจจะเล่นร้องเลียนเสียงสัตว์กับเจ้าตัวเล็กก็ได้ค่ะ เช่น แมวร้องเหมียว ๆ ช้างร้องแปร๊น ๆ นกร้องจิ๊บ ๆ
ของเล่นแสนสนุก เลือกของเล่นที่มีเสียงคุณแม่ อาจจะเล่นกับลูกน้อยด้วยการสั่นของเล่นให้ลูกสนใจ จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง ให้เจ้าตัวเล็กได้มองตามเพื่อกระตุ้นให้ลูกได้เรียนรู้ที่มาของเสียง
I LOVE MUSIC ดนตรี เพลงจะเป็นตัวช่วยพัฒนาลูกน้อยในเรื่องการได้ยินอย่างดีเยี่ยม ลองเปิดเพลงบรรเลงประเภทคลาสสิค เพลงสบายเย็น ๆ ให้ลูกฟังจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการได้ยินได้มากทีเดียว
แก้วน้ำพาเพลิน คุณแม่อาจจะหาของใกล้ตัว เช่น แก้วน้ำขนาดต่างกัน ใส่น้ำต่างระดับกัน วางสลับแก้วต่ำแก้วสูง จากนั้นลองใช้ตะเกียบเคาะแก้วเบา ๆ จะได้จังหวะและเสียงดนตรีที่ใสแจ๋วมาทำให้เจ้าตัวเล็กต้องหันมาสนใจ วิธีนี้นอกจากแม่ลูกจะได้เล่นด้วยกันแล้วยังช่วยฝึกพัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยอีกด้วย
ต้องยกให้เป็นพัฒนาการพื้นฐานของลูกน้อยเลยค่ะ สำหรับ "พัฒนาการด้านการได้ยิน" เพราะการได้ยินเป็นพื้นฐานสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ทักษะด้านภาษาและไอคิว เด็กจะพูดได้ตามปกติจำเป็นต้องมีการได้ยินที่ปกติ ในกรณีของเด็กที่พูดช้าส่วนหนึ่งก็มีผลมาจากพัฒนาการได้ยินที่ล่าช้า ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งค่ะที่คุณแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ให้ลูกน้อยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก ถ้าพัฒนาการด้านการได้ยินไม่ได้รับการกระตุ้นส่งเสริมที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลต่อการออกเสียง การพูดและทักษะภาษาของลูกได้ต่อไปในอนาคต ว่าแล้วเราก็มาดูพัฒนาการด้านการได้ยินของลูกน้อยแต่ละช่วงวัยกันเลยค่ะ
0-3 เดือน
ใช้การร้องสื่ออารมณ์ หิวก็ส่งเสียงร้องไห้ ส่งเสียงอ้อแอ้เมื่อมีความสุข
หยุดร้องไห้และเคลื่อนไหว นิ่งฟัง เมื่อคุณแม่เรียกชื่อ เปิดเพลง หรือเขย่าของเล่นมีเสียง
ในขณะที่ลูกน้อยร้องงอแง หรือร้องกวน ถ้าคุณแม่ส่งเสียง เด็กก็จะหยุดนิ่งหรือกะพริบตามอง
เมื่อนอนหลับจะร้องไห้จ้า หากได้ยินเสียงดังจนทำให้ตกใจ และผวาตื่น
เริ่มสนใจมองเวลาที่มีคนมาพูดคุยกันใกล้ ๆ
3-6 เดือน
เริ่มฟัง สนใจเสียงตัวเอง และเสียงผู้อื่นมากขึ้น
สามารถหันหาเสียงที่มาทางแนวราบได้ รู้ที่มาของเสียงว่ามาจากไหน แยกแยะเสียงสูงต่ำได้
ถ้าเป็นเสียงคุณแม่คุยด้วย เจ้าตัวเล็กจะหันหาและยิ้มด้วย แต่หากเป็นเสียงคนที่ไม่คุ้นเคย ลูกจะมีสีหน้าตกใจ หรือร้องไห้
เริ่มสนใจของเล่นที่มีเสียง
6-10 เดือน
เปล่งเสียงอ้อแอ้ "บา กา ปู มะ" และเปล่งเสียงใหม่ ๆ ที่ง่าย ๆ ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
สามารถก้ม เงย หรือหันหาเสียงที่ได้ยินได้
เข้าใจความหมายของคำพูดพื้นฐาน เช่น ไม่ อย่า ได้
ตอบสนองเสียงตัวเอง โดยแสดงอารมณ์สีหน้าตามเสียงที่เปล่งออกมา เช่น มีสีหน้ายิ้มแย้มเมื่อเปล่งเสียง หัวเราะเอิ๊กอ๊ากชอบใจ
ตอบสนองต่อเสียงกริ่งโทรศัพท์ เสียงช้อนกระทบ เสียงเพลง
ชอบเล่นของเล่นที่มีเสียงกรุ๋งกริ๋ง หรือของเล่นที่มีเสียงดัง
เมื่อคุณแม่เล่นเสียงกับลูกน้อย เด็กจะทำเสียงเลียนแบบ และแสดงสีหน้าตอบสนองต่อเสียงได้
10-12 เดือน
รู้จักชื่อของตัวเองและหันเวลามีคนเรียกชื่อ
รู้ชื่อสิ่งของที่คุ้นเคย สามารถชี้ไปยังสิ่งของที่รู้สึกต้องการ
ออกเสียงตามคำพูดที่มีความหมายง่าย ๆ อย่างน้อย 7 คำ เช่น พ่อ แม่ เอา นม น้ำ
สามารถหันหาเสียงที่มาจากทิศทางรอบด้านทั้งซ้าย ขวา บน ล่าง
ทำตามคำสั่งง่าย ๆ โดยมีท่าทางประกอบคำสั่ง เช่น คุณแม่บอกให้ลูกตบมือแปะ ๆ โดยทำท่าตบมือให้ลูกดู
Check List ลูกน้อยได้ยินปกติไหมนะ ??
ช่วงวัย 6-12 เดือน คุณแม่จะสามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่าลูกน้อยมีความผิดปกติในการได้ยินหรือไม่ เพราะถ้าลูกมีการเล่นเสียงน้อยลงอาจเป็นไปได้ว่าลูกมีความผิดปกติ ในการได้ยิน ลองจับสังเกตอาการเหล่านี้ดูค่ะ
เมื่ออายุ 6 เดือนแล้วแต่ลูกน้อยยังไม่ยอมหันหาเสียงใด ๆ
อายุ 7 เดือนขึ้นไป ไม่มีอาการตอบสนองต่อเสียงคุณแม่ ไม่มีการตอบสนองเวลาที่พ่อแม่พูดคุยด้วย
ย่างเข้าสู่ 1 ปี แต่ลูกยังไม่ยอมพูด หรือพูดไม่ได้ แม้แต่คำง่าย ๆ เพียงพยางค์เดียว
หากลูกมีอาการเหล่านี้แนะนำให้คุณแม่ปรึกษาคุณหมอดูนะคะว่า เจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการด้านการได้ยินที่ผิดปกติหรือไม่ อย่าลืมนะคะว่า พัฒนาการได้ยินเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งของลูกรัก
Modern Mom’s Tip
เคล็ดลับกระตุ้นการได้ยิน
หมั่นพูดหมั่นคุยกับลูก ส่งเสริมพัฒนาการได้ยินของลูกโดยพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เวลาที่ลูกน้อยส่งเสียงอ้อแอ้ ๆ มา คุณแม่ควรจะมีการโต้ตอบกลับด้วยน้ำเสียงที่อ่อนหวาน ห่วงใย ชัดถ้อยชัดคำ (อย่าใช้เสียงดุดันนะคะ) เช่น ว่าไงคะลูก เอ๋แม่อยู่นี่ค่ะ เพราะเสียงที่เด็กทารกพึงพอใจจะเป็นเสียงสูงของคุณแม่มากกว่าเสียงธรรมดาของคุณพ่อ เมื่อพูดกับลูก ลูกก็จะมองตามและหาที่มาของเสียง และการคุยกับลูกบ่อย ๆ ยังส่งเสริมให้เด็กจำคำต่าง ๆ ที่เขาได้ยินอีกด้วย
เสียงธรรมชาติหรรษา คุณแม่อาจจะนำเรื่องใกล้ตัวมาช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ยินของลูกรักได้ เช่น พาลูกฟังเสียงต่าง ๆ ในธรรมชาติ ฟังเสียงนกร้อง เสียงน้ำไหล เสียงลมโชย เสียงสุนัข เสียงแมว ฯลฯ หรือคุณอาจจะเล่นร้องเลียนเสียงสัตว์กับเจ้าตัวเล็กก็ได้ค่ะ เช่น แมวร้องเหมียว ๆ ช้างร้องแปร๊น ๆ นกร้องจิ๊บ ๆ
ของเล่นแสนสนุก เลือกของเล่นที่มีเสียงคุณแม่ อาจจะเล่นกับลูกน้อยด้วยการสั่นของเล่นให้ลูกสนใจ จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง ให้เจ้าตัวเล็กได้มองตามเพื่อกระตุ้นให้ลูกได้เรียนรู้ที่มาของเสียง
I LOVE MUSIC ดนตรี เพลงจะเป็นตัวช่วยพัฒนาลูกน้อยในเรื่องการได้ยินอย่างดีเยี่ยม ลองเปิดเพลงบรรเลงประเภทคลาสสิค เพลงสบายเย็น ๆ ให้ลูกฟังจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการได้ยินได้มากทีเดียว
แก้วน้ำพาเพลิน คุณแม่อาจจะหาของใกล้ตัว เช่น แก้วน้ำขนาดต่างกัน ใส่น้ำต่างระดับกัน วางสลับแก้วต่ำแก้วสูง จากนั้นลองใช้ตะเกียบเคาะแก้วเบา ๆ จะได้จังหวะและเสียงดนตรีที่ใสแจ๋วมาทำให้เจ้าตัวเล็กต้องหันมาสนใจ วิธีนี้นอกจากแม่ลูกจะได้เล่นด้วยกันแล้วยังช่วยฝึกพัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยอีกด้วย
บทความที่ 3
ประสาทสัมผัสฝึกได้ในทุก ๆ วันของชีวิต
ประสาทสัมผัสกับการเรียนรู้
ความจริงแล้ว ระบบประสาทสัมผัสเริ่มทำงานตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้วค่ะ เพียงแต่ยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์นัก และต้องการการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้วงจรประสาทที่มีอยู่แตกแขนงเชื่อมโยง และแบ่งหน้าที่การทำงานกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวัย 0-3 ปี หรือที่เรียกว่า Sensory Motor Stage ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านอวัยวะรับสัมผัส เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนตัวกระตุ้นชนิดต่าง ๆ เช่น แสง สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส ฯลฯ ให้กลายเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งเข้าไปในสมองบริเวณต่าง ๆ จนไปถึงเปลือกสมอง (Cerebral Cortex) และบันทึกข้อมูลเหล่านั้นไว้ในสมองอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งข้อมูลที่บรรจุอยู่ในสมองของลูกจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนใช้ ประสาทสัมผัสให้แก่ลูกน้อยตั้งแต่วัยเด็ก
ฝึกประสาทสัมผัสเจ้าตัวน้อย
การจะฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้แก่ลูกน้อยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจในพัฒนาการแต่ละช่วงวัยของลูก ด้วยค่ะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เป็นการไปเร่งเร้าหรือกระตุ้นลูกมากจนเกิน ไป ไปดูกันค่ะ ว่าจะช่วยฝึกประสาทสัมผัสให้ลูกน้อยได้อย่างไรกันบ้าง
แรกเกิด-3 เดือน ให้นมลูก
ลูกน้อยสามารถรับสัมผัสได้ตั้งแต่แรกเกิด และการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกวัยนี้ ก็เป็นไปตามธรรมชาติ แม้ว่าลูกจะยังเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้มากนัก การให้นมลูก นับเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกได้อย่างครบถ้วน เพราะนอกจากลูกจะได้รับไออุ่นจากการโอบอุ้ม กอดสัมผัสของแม่ ได้กลิ่นกายและได้ยินเสียงหัวใจของแม่ที่คุ้นชินได้ลิ้มชิมรสชาติน้ำนม แสนอร่อย ไปพร้อม ๆ กับการมองเห็นใบหน้าแม่ที่ยิ้มละไมอยู่ตรงหน้า
3-6 เดือน คว้า จับ กับของเล่น
วัยที่ลูกเริ่มจับ คว้า และอยากเปล่งเสียงสนทนา การสบตา เล่น และพูดคุยกับลูกทุก ๆ วัน รวมไปถึงการนวดเนื้อนวดตัวให้ลูกอย่างแผ่วเบาหลังอาบน้ำ จะช่วยกระตุ้นประสาทให้ลูกได้ และอาจเพิ่มตัวช่วยด้วยของเล่นต่าง ๆ เช่น โมบายสีสันสดใส กล่องดนตรี ของเล่นที่ใช้เขย่าให้เกิดเสียง หรือของเล่นที่มีผิวสัมผัสที่แตกต่างก็ได้ค่ะ
6 เดือน-1 ปี ลิ้มรสกระตุ้นสัมผัส
ช่วงวัยนี้ลูกเริ่ม เปลี่ยนจากการนอนกลิ้งไปมา ไปสู่การเรียนรู้ที่จะนั่ง คืบคลาน และเกาะยืน เริ่มเรียนรู้ที่จะจับจ้องมอง ริมฝีปากของผู้คนที่แวะเวียนเข้ามาทักทาย และเริ่มเชื่อมโยงระดับเสียงสูงต่ำ ระหว่างแม่กับพ่อได้บ้างแล้ว รวมทั้งสามารถลิ้มรสชาติของอาหารอ่อน ๆ เสริมจากนมแม่ได้แล้ว ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่คุณแม่จะได้พัฒนาระบบประสาทสัมผัสให้ลูกน้อย ไม่ว่าจะด้วยรสชาติ กลิ่น หรือแม้แต่ผิวสัมผัสที่แตกต่างกันไปของอาหารในแต่ละมื้อ (ช่วงที่ลูกฟันขึ้นแล้ว) รวมถึงการเปลี่ยนสลับปรับทิศทางการนอนให้ลูกได้มีมุมในการมองที่แตกต่างไป หรือพาลูกนั่งรถเข็นเดินเที่ยวชมต้นไม้ฟังเสียงนกร้องรอบ ๆ บ้าน หรืออาจจะหาตัวช่วยอย่างหนังสือนิทานนุ่มนิ่มให้ลูกได้จับสัมผัส ดูภาพ และฟังเสียงของคุณแม่ไปพร้อม ๆ กัน
1-2 ปี กระตุ้นผ่านชีวิตประจำวัน
ในวัยที่เริ่มเตาะแตะหัดเดินและเรียนรู้ภาษาได้มากขึ้น การกระตุ้นประสาทสัมผัสในชีวิตประจำวันยังจำเป็นและเป็นฐานที่สำคัญในการต่อยอดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกน้อย เช่น กระตุ้นการฟัง ด้วยเสียงเพลง หรือนิทาน กระตุ้นการได้กลิ่น ด้วยการสอนให้ลูกแยกแยะ กลิ่นหอม-เหม็น เช่น ให้ลูกลองดมกลิ่นเสื้อที่หอมสะอาด กลิ่นดอกไม้ (ถ้าลูกไม่แพ้) หรือเวลาที่ลูกนั่งกระโถนแล้วได้กลิ่นเหม็น เป็นต้น ลูกวัยนี้สามารถเรียนรู้เรื่องเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ได้จากการสัมผัสได้แล้ว การหาของเล่นที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน หรือแม้แต่สิ่งของรอบ ๆ ตัวก็สามารถกระตุ้นการรับรู้นี้ได้ เช่นเดียวกับความสามารถในการแยกแยะรสชาติต่าง ๆ เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ซึ่งคุณแม่อาจหาผลไม้ที่มีรสชาติต่างกันไปให้ลูกลองชิม รวมไปถึงการเปิดโลกกว้างให้ลูกวัยนี้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้นกว่าการจับเจ่าอยู่แต่ในบ้าน
2-3 ปี หลากของเล่นพัฒนาประสาทสัมผัส
ลูกวัยนี้สามารถแยกแยะของชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้แล้ว ว่าสิ่งไหนเหมือนหรือต่างกัน สิ่งไหนเรียกว่าอย่างไร มีวิธีการเล่น การหยิบจับอย่างไร รวมทั้งเรื่องของขนาด สี และรูปทรง กิจกรรมง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถช่วยฝึกประสาทสัมผัสการมองเห็นให้ลูกได้ เช่น ฝึกแยกแยะขนาดรูปทรง และสี ของสิ่งของต่าง ๆ โดยอาจลองนำของที่เป็นทรงกลม และทรงสี่เหลี่ยม สีสันต่าง ๆ มาใส่รวมกันในกล่องแล้วให้เขาแยกแยะว่าของชิ้นใดเป็นทรงกลม ทรงเหลี่ยม สีอะไร เล็กหรือใหญ่ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ลูกได้ทดลองลิ้มรสอาหารที่หลากหลายขึ้น ทั้งกลิ่น รสชาติ และผิวสัมผัส อาจเล่นเป็นเกมเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่น เล่นเกมดมกลิ่นผลไม้ หรือเกมคลำดูซินี่อะไร โดยใส่สิ่งของลงไปในถุงโดยที่ลูกไม่เห็น แล้วให้คลำดูว่าของชิ้นนั้นคืออะไร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ขอเพียงคุณแม่เข้าใจในหลักการฝึกประสาทสัมผัสและสอดประสานกิจกรรมต่าง ๆ เข้าไปในวิถีชีวิตอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละช่วงของลูก นอกจากจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีแล้ว การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ยังจะช่วยหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพ ความคิด และตัวตนของลูกเมื่อเขาเติบโตขึ้นอีกด้วยค่ะ
ความจริงแล้ว ระบบประสาทสัมผัสเริ่มทำงานตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้วค่ะ เพียงแต่ยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์นัก และต้องการการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้วงจรประสาทที่มีอยู่แตกแขนงเชื่อมโยง และแบ่งหน้าที่การทำงานกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวัย 0-3 ปี หรือที่เรียกว่า Sensory Motor Stage ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านอวัยวะรับสัมผัส เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนตัวกระตุ้นชนิดต่าง ๆ เช่น แสง สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส ฯลฯ ให้กลายเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งเข้าไปในสมองบริเวณต่าง ๆ จนไปถึงเปลือกสมอง (Cerebral Cortex) และบันทึกข้อมูลเหล่านั้นไว้ในสมองอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งข้อมูลที่บรรจุอยู่ในสมองของลูกจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนใช้ ประสาทสัมผัสให้แก่ลูกน้อยตั้งแต่วัยเด็ก
ฝึกประสาทสัมผัสเจ้าตัวน้อย
การจะฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้แก่ลูกน้อยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจในพัฒนาการแต่ละช่วงวัยของลูก ด้วยค่ะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เป็นการไปเร่งเร้าหรือกระตุ้นลูกมากจนเกิน ไป ไปดูกันค่ะ ว่าจะช่วยฝึกประสาทสัมผัสให้ลูกน้อยได้อย่างไรกันบ้าง
แรกเกิด-3 เดือน ให้นมลูก
ลูกน้อยสามารถรับสัมผัสได้ตั้งแต่แรกเกิด และการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกวัยนี้ ก็เป็นไปตามธรรมชาติ แม้ว่าลูกจะยังเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้มากนัก การให้นมลูก นับเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกได้อย่างครบถ้วน เพราะนอกจากลูกจะได้รับไออุ่นจากการโอบอุ้ม กอดสัมผัสของแม่ ได้กลิ่นกายและได้ยินเสียงหัวใจของแม่ที่คุ้นชินได้ลิ้มชิมรสชาติน้ำนม แสนอร่อย ไปพร้อม ๆ กับการมองเห็นใบหน้าแม่ที่ยิ้มละไมอยู่ตรงหน้า
3-6 เดือน คว้า จับ กับของเล่น
วัยที่ลูกเริ่มจับ คว้า และอยากเปล่งเสียงสนทนา การสบตา เล่น และพูดคุยกับลูกทุก ๆ วัน รวมไปถึงการนวดเนื้อนวดตัวให้ลูกอย่างแผ่วเบาหลังอาบน้ำ จะช่วยกระตุ้นประสาทให้ลูกได้ และอาจเพิ่มตัวช่วยด้วยของเล่นต่าง ๆ เช่น โมบายสีสันสดใส กล่องดนตรี ของเล่นที่ใช้เขย่าให้เกิดเสียง หรือของเล่นที่มีผิวสัมผัสที่แตกต่างก็ได้ค่ะ
6 เดือน-1 ปี ลิ้มรสกระตุ้นสัมผัส
ช่วงวัยนี้ลูกเริ่ม เปลี่ยนจากการนอนกลิ้งไปมา ไปสู่การเรียนรู้ที่จะนั่ง คืบคลาน และเกาะยืน เริ่มเรียนรู้ที่จะจับจ้องมอง ริมฝีปากของผู้คนที่แวะเวียนเข้ามาทักทาย และเริ่มเชื่อมโยงระดับเสียงสูงต่ำ ระหว่างแม่กับพ่อได้บ้างแล้ว รวมทั้งสามารถลิ้มรสชาติของอาหารอ่อน ๆ เสริมจากนมแม่ได้แล้ว ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่คุณแม่จะได้พัฒนาระบบประสาทสัมผัสให้ลูกน้อย ไม่ว่าจะด้วยรสชาติ กลิ่น หรือแม้แต่ผิวสัมผัสที่แตกต่างกันไปของอาหารในแต่ละมื้อ (ช่วงที่ลูกฟันขึ้นแล้ว) รวมถึงการเปลี่ยนสลับปรับทิศทางการนอนให้ลูกได้มีมุมในการมองที่แตกต่างไป หรือพาลูกนั่งรถเข็นเดินเที่ยวชมต้นไม้ฟังเสียงนกร้องรอบ ๆ บ้าน หรืออาจจะหาตัวช่วยอย่างหนังสือนิทานนุ่มนิ่มให้ลูกได้จับสัมผัส ดูภาพ และฟังเสียงของคุณแม่ไปพร้อม ๆ กัน
1-2 ปี กระตุ้นผ่านชีวิตประจำวัน
ในวัยที่เริ่มเตาะแตะหัดเดินและเรียนรู้ภาษาได้มากขึ้น การกระตุ้นประสาทสัมผัสในชีวิตประจำวันยังจำเป็นและเป็นฐานที่สำคัญในการต่อยอดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกน้อย เช่น กระตุ้นการฟัง ด้วยเสียงเพลง หรือนิทาน กระตุ้นการได้กลิ่น ด้วยการสอนให้ลูกแยกแยะ กลิ่นหอม-เหม็น เช่น ให้ลูกลองดมกลิ่นเสื้อที่หอมสะอาด กลิ่นดอกไม้ (ถ้าลูกไม่แพ้) หรือเวลาที่ลูกนั่งกระโถนแล้วได้กลิ่นเหม็น เป็นต้น ลูกวัยนี้สามารถเรียนรู้เรื่องเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ได้จากการสัมผัสได้แล้ว การหาของเล่นที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน หรือแม้แต่สิ่งของรอบ ๆ ตัวก็สามารถกระตุ้นการรับรู้นี้ได้ เช่นเดียวกับความสามารถในการแยกแยะรสชาติต่าง ๆ เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ซึ่งคุณแม่อาจหาผลไม้ที่มีรสชาติต่างกันไปให้ลูกลองชิม รวมไปถึงการเปิดโลกกว้างให้ลูกวัยนี้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้นกว่าการจับเจ่าอยู่แต่ในบ้าน
2-3 ปี หลากของเล่นพัฒนาประสาทสัมผัส
ลูกวัยนี้สามารถแยกแยะของชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้แล้ว ว่าสิ่งไหนเหมือนหรือต่างกัน สิ่งไหนเรียกว่าอย่างไร มีวิธีการเล่น การหยิบจับอย่างไร รวมทั้งเรื่องของขนาด สี และรูปทรง กิจกรรมง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถช่วยฝึกประสาทสัมผัสการมองเห็นให้ลูกได้ เช่น ฝึกแยกแยะขนาดรูปทรง และสี ของสิ่งของต่าง ๆ โดยอาจลองนำของที่เป็นทรงกลม และทรงสี่เหลี่ยม สีสันต่าง ๆ มาใส่รวมกันในกล่องแล้วให้เขาแยกแยะว่าของชิ้นใดเป็นทรงกลม ทรงเหลี่ยม สีอะไร เล็กหรือใหญ่ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ลูกได้ทดลองลิ้มรสอาหารที่หลากหลายขึ้น ทั้งกลิ่น รสชาติ และผิวสัมผัส อาจเล่นเป็นเกมเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่น เล่นเกมดมกลิ่นผลไม้ หรือเกมคลำดูซินี่อะไร โดยใส่สิ่งของลงไปในถุงโดยที่ลูกไม่เห็น แล้วให้คลำดูว่าของชิ้นนั้นคืออะไร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ขอเพียงคุณแม่เข้าใจในหลักการฝึกประสาทสัมผัสและสอดประสานกิจกรรมต่าง ๆ เข้าไปในวิถีชีวิตอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละช่วงของลูก นอกจากจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีแล้ว การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ยังจะช่วยหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพ ความคิด และตัวตนของลูกเมื่อเขาเติบโตขึ้นอีกด้วยค่ะ
บทความที่ 4
มือใหม่หัดหม่ำ
มื้อแรกของหนู
ส่วนมากแล้วคุณแม่จะเริ่มให้อาหารเสริมกับลูกในวัย 4-6 เดือน อาหารเสริมที่ให้ลูกเป็นครั้งแรกนั้น มักจะเป็นน้ำส้มคั้น แต่คุณแม่จำนวนไม่น้อยใช้วิธีคั้นน้ำส้มใส่ขวดนมให้ลูกดูดเหมือนเวลาให้นมกับเค้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วควรเริ่มให้ในปริมาณน้อย ๆ เพียงแค่ 1-2 ช้อนชาก่อน หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณทีละน้อย เมื่อลูกคุ้นกันน้ำส้มแล้ว ค่อยเปลี่ยนไปให้น้ำผลไม้หรือน้ำผักชนิดอื่น ๆ หรือเพิ่มกล้วยน้ำว้าสุกครูด ข้าวบด หรือข้าวบดผสมไข่แดง ฟักทองนึ่ง
เมื่ออายุลูกเข้า 7 เดือน จึงให้เนื้อสัตว์ทุกประเภทได้ การเตรียมอาหารเสริมให้ลูกต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่ และเหมาะสมในแต่ละวัย เพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตทางร่างกายของลูกเป็นไปอย่างสมบูรณ์
กว่าหนูจะเคี้ยวเป็น
เรื่องการเคี้ยวอาหาร เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มักมองข้ามไป ด้วยความคิดที่ว่า เด็กควรทำได้เองเหมือน ๆ การดูดนม แต่ความจริงแล้วการเคี้ยว มีขั้นตอนและพัฒนาการที่ซับซ้อน และต้องการการฝึกฝน ต่างจากการดูดนมที่เด็กสามารถดูดได้คล่องแคล่วตามธรรมชาติ เชื่อไหมคะว่า สาเหตุของการไม่ยอมกินอาหาร หรือการเป็นเด็กกินยากในเด็กวัย 1-3 ปี ส่วนหนึ่งมาจากการที่เค้าขาดทักษะเกี่ยวกับการเคี้ยวค่ะ
ปกติเด็กจะเริ่มแสดงอาการที่บ่งบอกว่าพร้อมจะเคี้ยว ในช่วงหย่านม ซึ่งก็คือช่วงวัย 7-12 เดือน โดยในช่วงแรก เค้าจะรู้จักกลืนอาหารโดยใช้ลิ้นเคลื่อนไหวไปด้านหน้าและด้านหลัง พร้อมกับปิดปาก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เขาเรียนรู้ที่จะปิดปากขณะกลืนอาหาร หลังจากที่เคลื่อนไหวลิ้นได้เก่งแล้ว เค้าจะเริ่มรู้จักใช้ลิ้นบดอาหารกับเพดานปากก่อนที่จะกลืนอาหารของไป ต่อมาเขาจะเริ่มรู้จักการเคี้ยวด้วยการใช้ลิ้นดันอาหารเข้าไปยังเหงือกด้านใน แล้วใช้เหงือกบดอาหาร
การเคี้ยวโดยใช้เหงือกนี้เป็นสัญญาณของการเคี้ยวอย่างผู้ใหญ่เรา ที่ใช้ฟันด้านในในการบดเคี้ยวอาหารยังไงล่ะคะ
ระหว่างที่ลูกหัดเคี้ยวด้วยเหงือกนี้ คุณแม่ควรให้ลูกได้ลองรับประทานอาหารหลากหลายชนิด ที่มีความแข็ง นุ่ม แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกได้มีพัฒนาการด้านการเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารอาหารที่ควรเสริม
ไม่เพียงลูกจะต้องได้รับอาหารที่หลากหลายเพื่อฝึกเคี้ยว สารอาหารต่าง ๆ ในอาหารต้องครบถ้วน โดยเฉพาะ ไอโอดีน ธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามินเอ และแคลเซียม ซึ่งในสารอาหารเหล่านี้ มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายของเด็กมาก จึงควรเน้นเป็นพิเศษ
ไอโอดีน เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการพัฒนาของสมอง มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ ไอโอดีนพบมากในอาหารทะเล ต่เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีจะแพ้อาหารทะเลได้ง่าย
ธาตุเหล็ก มีส่วนสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีมากในตับ เนื้อสัตว์ เลือด ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม ถั่วเมล็ดแห้ง ถ้าเด็กทารกขาดธาตุเหล็กอาจจะทำให้พัฒนาการทางสมองด้อยกว่าเด็กปกติ หากต้องการให้ร่างกายของลูกดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้ดีขึ้น ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงควบคู่ไปด้วย
โปรตีน เป็นสารอาหารที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของลูก ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อ และการเจริญเติบโต โปรตีนมีมากในเนื้อสัตว์ทุกชนิด นม ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
วิตามินเอ ช่วยปรับสภาพสายตา สร้างเซลล์เนื้อเยื่อและเป็นเกราะป้องกันโรคต่าง ๆ ให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นอาหารบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี มีในผักใบเขียว เหลือง และแสด เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก ส้มเขียวหวาน ฟักทอง แครอท คุณพ่อคุณแม่สามารถนำผักผลไม้เหล่านี้มาบดรวมกันเป็นอาหารเสริมให้ลูกได้
แคลเซียม มีประโยชน์ต่อการสร้างกระดูก ฟัน และเล็บของลูก พบในกุ้งแห้ง กุ้งแห้งป่น ปลาตัวเล็ก ๆ ผักใบเขียว เช่น บร็อคโคลี่ กวางตุ้ง คะน้า ถั่วเมล็ดแห้ง งา ถั่วแดง ซึ่งเราสามารถนำไปทำเป็นอาหารให้ลูกทานอย่างง่าย ๆ ได้ เช่น ตุ๋นปลาป่นกับไข่ ผักต้มหรือผักบดรวมมิตร น้ำเต้าหู้ถั่วแดง ฯลฯ
สารปรุงรส...เรื่องต้องระวัง
ช่วงที่หัดให้ลูกรับประทานอาหารเสริม คุณแม่มักอยากให้ลูกรับประทานได้เยอะ ๆ จึงอดไม่ได้ที่จะเติมน้ำตาล และสารปรุงรสต่าง ๆ ลงไปในอาหาร จริงอยู่ว่าการทำเช่นนั้นทำให้ลูกเจริญอาหารขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้ลูกติดรสหวาน จนหากไม่ได้เติมน้ำตาลลงในอาหารจะรู้สึกว่าไม่อร่อย และไม่ยอมรับประทานอาหารนั้นเลย
เด็กบางคนติดหวานจนหากไม่ได้รับประทานของหวาน ๆ เช่น ทอฟฟี่ หรือขนมหวาน จะงอแง ไม่ยอมรับประทานอาหารมื้อหลัก และนิสัยติดหวานนี้ก็จะติดตัวไปจนเขาโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งเด็กติดหวานมักมีน้ำหนักที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คือ ไม่อ้วนเกินไป เพราะกินแต่อาหารหวาน ๆ ที่มีแป้งและน้ำตาลมาก ก็จะมีน้ำหนักจะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไปเลย เพราะไม่ยอมกินอะไรนอกจากขนม จนกลายเป็นเด็กซูบผอมอมโรค
นอกจากนี้หากลูกติดที่จะรับประทานแต่อาหารหวาน ๆ ก็จะทำให้ฟันผุได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณหลุมร่องฟันบนด้านบดเคี้ยวและซอกฟัน รูฟันที่ผุนี้ยังเป็นที่สะสมของเศษอาหารและเชื้อโรค ซึ่งนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บได้อีกหลาย ๆ โรค จะสังเกตได้ว่าเด็กที่ติดหวาน ฟันผุ มักเป็นหวัดและเจ็บคอบ่อย ๆ
ดังนั้น ควรใช้ความหวานจากความสดใหม่ของอาหารที่นำมาปรุง หรือความหวานจากผักบางชนิดมากกว่า และไม่ควรเติมซอสปรุงรสในปริมาณที่มากเกินไป เพราะในซอสปรุงรสนอกจากจะมีความเค็ม ที่อันตรายต่อเด็ก ๆ ไม่แพ้ความหวานแล้ว ยังอาจมีผงชูรสอยู่ด้วย
ฝึกหนูหม่ำเป็นที่
ในวัยเริ่มรับประทานอาหารเสริมนี้ คุณแม่ควรฝึกให้เค้ารับประทานอาหารอยู่กับที่ โดยจัดให้เค้านั่งกินอาหารที่โต๊ะรับประทานอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งก็มีหลายแบบหลายขนาดให้เลือก
ส่วนระยะเวลาในการให้รับประทานอาหารนั้น ขึ้นอยู่กับนิสัยของเด็กแต่ละคน บางคนกินเร็ว บางคนกินช้า แต่ถ้าช้าเกินไป กว่าจะกินหมดแต่ละมื้อ ต้องเสียเวลาป้อนเป็นชั่วโมงล่ะก็ แปลว่าเด็กไม่ได้ชอบอาหารนั้น หรือไม่ก็เพราะเค้ายังไม่หิวจริง ๆ
ดังนั้น ถ้าคุณแม่ป้อนอาหารให้เขากินครึ่งชั่วโมงแล้ว ก็ไม่ควรป้อนต่อไปอีก เพราะนอกจากจะเสียเวลาเปล่า ๆ แล้ว ยังทำให้เค้าเคยชินกับการถูกคุณแม่ป้อนอาหารไป เล่นไป ไปจนโตค่ะ
บทความที่ 5
ตรวจเช็คพัฒนาการของหนู
เรื่องพัฒนาการของลูก ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกันค่ะ ยิ่งในวัยนี้ด้วยแล้ว
เรื่องพัฒนาการของลูก ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกันค่ะ ยิ่งในวัยนี้ด้วยแล้ว พัฒนาการทุกด้านจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเค้าเริ่มจะเข้าในเรื่องเหตุผลมากยิ่งขึ้น เช่น ขว้างปาสิ่งของออกจากตัวเพื่อทดสอบความเข้าใจของตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่แสดงอารมณ์โกรธ เค้าจะรีบหยุดการกระทำนั้นทันที เพราะเข้าใจภาษาท่าทางได้แล้วค่ะ
ทักษะด้านการเคลื่อนไหว
ใช้กล้ามเนื้อมือได้คล่องแคล่วขึ้น สามารถวางวัตถุไว้บนอีกชิ้นนึงได้
เดินด้วยตัวเองได้ 2-3 ก้าว แต่ชอบคลานมากกว่า เพราะสามารถเคลื่อนไหวไปได้อย่างรวดเร็วกว่าการเดินที่ยังไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่นัก
ยืนแล้วย่อตัวเองลงนั่งได้ โดยไม่หงายเก๋งไปข้างหลังอีกแล้ว
ลุกขึ้นยืนได้เอง และเดินได้ดีถ้าเกาะราวหรือขอบตู้ ดังนั้น ควรระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยมากๆ ค่ะ
พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์
เริ่มติดเฉพาะคนใกล้ชิดเป็นพิเศษ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือพี่เลี้ยง และเริ่มเรียกร้องความสนใจเป็นระยะ เพราะอยากให้คนพิเศษของเค้าอยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา
แสดงอารมณ์ว่า ชอบหรือไม่ชอบใครบางคนอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่า มีอารมณ์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดือนก่อน
รู้จักปฏิเสธด้วยท่าทีที่ชัดเจน เช่น หนูไม่อยากหม่ำ ก็จะแสดงท่าทางส่ายหน้า ฯลฯฃ
ชอบยิ้มให้กับกระจก และเต้นตามจังหวะดนตรี
พัฒนาการทางภาษา
เวลาอารมณ์ดี ก็จะชอบพูดมากเป็นพิเศษ โดยจะบ่นพรึมพรำและทำเสียงต่าง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย
ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น คำว่า "หยุด" , "ห้าม" ฯลฯ
สนใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด และพยายามเลียนแบบด้วยการพูดตาม เช่น ชอบพูดทางโทรศัพท์ เป็นต้น
เมื่อถึงวัยขวบปีแรก ก็สามารถพูคคำแรกที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยมานานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นคำว่า "มาม้า" และ "ปาป๊า"ตามมาด้วยคำที่ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน เช่น "บ๊ายบาย" ,"ดี","หม่ำหม่ำ" อย่างนี้เป็นต้นค่ะ
สิ่งที่พ่อแม่ต้องเอาใจใส่
ความปลอดภัย ต้องหมั่นตรวจตราสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ปลั๊กไฟ ฯลฯ
พูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ อาจชี้ให้ดูภาพในหนังสือ หรือเวลาเดินเล่นนอกบ้าน ก็ชี้ให้ดูสิ่งที่น่าสนใจ
สอนว่า สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ ด้วยการบอกหรือทำท่าทางให้รับรู้ เช่น เมื่อลูกน้อยทำในสิ่งไม่ควรทำก็ควรจับตัวไว้ มองด้วยสีหน้าจริงเป็นการห้าม
เมื่อลูกทำในสิ่งที่ดีก็ควรกล่าวชม โอบกอด หรือตบมือให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีก
เรื่องพัฒนาการของลูก ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกันค่ะ ยิ่งในวัยนี้ด้วยแล้ว พัฒนาการทุกด้านจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเค้าเริ่มจะเข้าในเรื่องเหตุผลมากยิ่งขึ้น เช่น ขว้างปาสิ่งของออกจากตัวเพื่อทดสอบความเข้าใจของตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่แสดงอารมณ์โกรธ เค้าจะรีบหยุดการกระทำนั้นทันที เพราะเข้าใจภาษาท่าทางได้แล้วค่ะ
ทักษะด้านการเคลื่อนไหว
ใช้กล้ามเนื้อมือได้คล่องแคล่วขึ้น สามารถวางวัตถุไว้บนอีกชิ้นนึงได้
เดินด้วยตัวเองได้ 2-3 ก้าว แต่ชอบคลานมากกว่า เพราะสามารถเคลื่อนไหวไปได้อย่างรวดเร็วกว่าการเดินที่ยังไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่นัก
ยืนแล้วย่อตัวเองลงนั่งได้ โดยไม่หงายเก๋งไปข้างหลังอีกแล้ว
ลุกขึ้นยืนได้เอง และเดินได้ดีถ้าเกาะราวหรือขอบตู้ ดังนั้น ควรระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยมากๆ ค่ะ
พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์
เริ่มติดเฉพาะคนใกล้ชิดเป็นพิเศษ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือพี่เลี้ยง และเริ่มเรียกร้องความสนใจเป็นระยะ เพราะอยากให้คนพิเศษของเค้าอยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา
แสดงอารมณ์ว่า ชอบหรือไม่ชอบใครบางคนอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่า มีอารมณ์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดือนก่อน
รู้จักปฏิเสธด้วยท่าทีที่ชัดเจน เช่น หนูไม่อยากหม่ำ ก็จะแสดงท่าทางส่ายหน้า ฯลฯฃ
ชอบยิ้มให้กับกระจก และเต้นตามจังหวะดนตรี
พัฒนาการทางภาษา
เวลาอารมณ์ดี ก็จะชอบพูดมากเป็นพิเศษ โดยจะบ่นพรึมพรำและทำเสียงต่าง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย
ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น คำว่า "หยุด" , "ห้าม" ฯลฯ
สนใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด และพยายามเลียนแบบด้วยการพูดตาม เช่น ชอบพูดทางโทรศัพท์ เป็นต้น
เมื่อถึงวัยขวบปีแรก ก็สามารถพูคคำแรกที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยมานานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นคำว่า "มาม้า" และ "ปาป๊า"ตามมาด้วยคำที่ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน เช่น "บ๊ายบาย" ,"ดี","หม่ำหม่ำ" อย่างนี้เป็นต้นค่ะ
สิ่งที่พ่อแม่ต้องเอาใจใส่
ความปลอดภัย ต้องหมั่นตรวจตราสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ปลั๊กไฟ ฯลฯ
พูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ อาจชี้ให้ดูภาพในหนังสือ หรือเวลาเดินเล่นนอกบ้าน ก็ชี้ให้ดูสิ่งที่น่าสนใจ
สอนว่า สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ ด้วยการบอกหรือทำท่าทางให้รับรู้ เช่น เมื่อลูกน้อยทำในสิ่งไม่ควรทำก็ควรจับตัวไว้ มองด้วยสีหน้าจริงเป็นการห้าม
เมื่อลูกทำในสิ่งที่ดีก็ควรกล่าวชม โอบกอด หรือตบมือให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น